มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม

มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม 3

ที่มาสาเหตุของบทความนี้เริ่มจากประเด็นขัดแย้งของคำว่า “shutter speed” ระหว่างคนสองกลุ่ม (อีกแล้ว) ซึ่งต้นเรื่องเกิดจากผมเห็น Ja Singnamthieng เพื่อนร่วมวงการที่ได้ทดสอบ Huawei P20 Pro เป็นกลุ่มแรกในบ้านเรา เค้าได้โพสรูปบนเฟซบุ๊คส่วนตัวพร้อมกับสื่อสารทำนองว่า “shutter speed 4 วินาทีแบบไม่ใช้ขาตั้ง” และเมื่อพูดคุยก็ได้ใจความว่าเค้าใช้ Night mode ในการถ่าย

ปัญหาก็คือคนกลุ่มหนึ่งมองว่าเจ๋ง! แต่อีกกลุ่มไม่เชื่อและมองว่าผลลัพธ์ของการลาก shutter speed จะไม่ใช่แบบนี้ …สำหรับผมแล้วไม่มีใครผิดครับ เพราะมันเป็นมุมมองของคน 2 กลุ่มเลยทำให้ตีความหรือเรียกต่างกัน

Highlight

ประเด็นนี้คนที่เติบโตมาจากสาย Smartphone หรือยุค Software ก้าวกระโดด จะมองว่าการเรียกว่าลากชัตเตอร์ไม่ผิด เนื่องจากผู้ผลิตพยายามสื่อสารมาในทิศทางนั้น เพราะมันเป็นการต่อยอดจากรูปแบบเดิมๆ ด้วยการประมวลผลที่เก่งและง่ายกว่าเดิม และคำนี้เป็นการสื่อสารกับ End user ที่ง่ายกว่า

แต่คนที่คุ้นชินกับกล้องแบบดั้งเดิมจะมองว่าผิด เพราะมันขัดแย้งกับทฤษฎีที่คุ้นชิน ผมจึงขอความเห็นผู้มีชื่อเสียงด้านกล้อง Camera ที่หันมาจับ Smartphone อย่างน้าโอ๋ Tamrong และน้าโอ๋ก็ให้ทัศนะว่า “มันคือการลากชัตเตอร์นั่นล่ะ เพียงแต่มันแอบทำอยู่เงียบๆ และฉลาดกว่าเดิม”

มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม 5

ในมุมมองของผมแล้วมันมีความต่างระหว่าง Smartphone user กับ Camera user อยู่พอสมควร …ความเจ๋งที่หลายคนชื่นชมผลการทดสอบนี้เพราะ Huawei โฆษณาว่ามีระบบกันสั่นที่ดีกว่า EIS และ OIS โดยมีชื่อว่า Huawei AIS ที่ย่อมาจาก Huawei AI Image Stabilization จึงทำให้ภาพดีขึ้นในหลายโหมดรวมถึงการถ่ายในที่แสงน้อยแบบไม่มีขาตั้งกล้องด้วย …ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการทดสอบดังกล่าวขึ้นมา

ปัญหาคือฝั่ง Camera user มองว่ามันไม่ใช่การลาก shutter speed เพราะรถและธงควรจะเบลอ จึงไม่เชื่อผลการทดสอบนี้และขอดู EXIF ด้วย แต่ผลก็คือ EXIF ให้ข้อมูลตรงตามที่ผู้ถ่ายแจ้งไว้ว่า “shutter speed 4 วินาที”

มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม 7

แน่นอนว่ามันค้านสายตาคนเล่นกล้องฝั่ง Camera user เพราะภาพจำของคนเล่นกล้องมักยึดจาก Hardware เป็นหลัก ซึ่งทฤษฎีต่างๆ มันก็เป็นเช่นนั้น แต่พอเข้าสู่ยุคที่ Software พัฒนาก้าวกระโดดก็มีหลายสิ่งอย่างที่ไม่ใช่แบบทฤษฏีเดิมๆ ที่เข้าใจกัน

นี่คือสิ่งที่ผมกำลังจะบอก …ตอนนี้เป็นยุคของ Software ที่หลักการแนวคิดและการสื่อสารอาจต่างกับยุคเดิม

ประเด็นเรื่อง shutter speed บนมือถือที่ผมจำได้ก็คือ OPPO สามารถลากได้ 30 วินาทีเป็นรุ่นแรกๆ ของวงการ แต่ผลลัพธ์มันไม่เหมือนของกล้องแท้ๆ น่ะสิ เพราะถ้าเอากล้องแท้ๆ มาลากระยะเวลานานขนาดนี้ภาพต้องสว่างมาก แต่บนมือถือมันไม่ใช่

เช่นกันกับกรณีที่มือถือหลายรุ่นสามารถจำลองหน้าชัด-หลังเบลอด้วยค่ารูรับแสงต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่เหมือนการปรับค่า aperture ของกล้องแท้ๆ แม้แต่โหมด Long Exposure บน iOS ก็ไม่เหมือนกับ Long Exposure ในทฤษฎีที่ฝั่ง Camera user คุ้นชิน

จากนั้นเทคโนโลยีกล้องบน Smartphone ก็พัฒนาต่อยอดขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะด้าน Software เนื่องด้วย Hardware ถูกจำกัดด้วยขนาดของตัวเครื่อง จึงต้องเน้นด้าน Software แทน

มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม 9
รูปประกอบจาก DxOMark

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวโลกประจักษ์และเข้าใจความสำคัญของ Software มากขึ้นก็คือ Google Pixel 2 ที่ฉีกกฎเกณฑ์ของกล้องแบบเก่า ด้วยการใช้กล้องตัวเดียวแต่สามารถถ่ายหน้าชัด-หลังเบลอได้ รวมถึงถ่ายที่แสงน้อยและจัดการ noise ได้ดีมาก และก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการอัพเดท Software

…นั่นหมายความว่าทฤษฎีที่คุ้นชินอย่าง shutter speed, EV, ISO เริ่มใช้ไม่ได้แล้วเมื่อเข้าสู่ยุค Software เนื่องจากมันมี Algorithm การประมวลผลอะไรที่มากกว่านั้น

มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม 11

แม้แต่กล้องแท้ๆ อย่าง Sony Mirrorless ก็ยังมีแอพต่างๆ เข้ามาช่วยประมวลผลให้การถ่ายรูปง่ายขึ้น เช่น Light Trail ที่คนยุคก่อนต้องมานั่งปรับ shutter speed, ISO, EV แต่เมื่อใช้ Sony ทุกอย่างจะ Auto ให้เอง

เช่นกันกับบนมือถือที่มีการประมวลผลจำลองการทำงานในลักษณะนี้ขึ้นมา และให้ผลลัพธ์ในแนวทางคล้ายกับแอพบนกล้องแท้ๆ ซึ่งบน Smartphone ก็มีโหมดตัวช่วยเช่น Star Trail, Light Trail, Night mode, Light Painting ที่ไม่ต่างจากแอพบนกล้อง Mirrorless ยุคใหม่

ฉะนั้นในมุมมองหรือการสื่อสารของ Smartphone user นี่จึงถือว่าเป็นการลาก shutter speed เพียงแต่มีโหมดตัวช่วยเข้ามาทำให้ง่ายขึ้น

มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม 13
โหมดกล้อง Smartphone nubia

นอกจากนี้ผมยังได้ปรึกษามุมมองกับผู้มีชื่อเสียงในวงการกล้องอย่างน้าโอ๋ Tamrong หรือที่รู้จักกันในวงการว่า “นักป้ายยา” และได้คำตอบในแนวเดียวกับผมคือ “มันคือการลากชัตเตอร์นั่นแหละ”

มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม 15

ความจริงแล้วประเด็นมุมมองที่ขัดแย้งกันระหว่าง Smartphone user และ Camera user มีมานานแล้วครับ แต่เริ่มเห็นชัดเจนเมื่อราว 3 ปีก่อนในช่วงที่ Smartphone เริ่มมีกล้องที่ดีขึ้น จนทำให้ Camera user ไหลเข้ามามากขึ้น

ในครั้งนั้น Camera user หลายท่านมองว่าการทดสอบรีวิวไม่เป็นกลาง เนื่องด้วยคุ้นชินกับรูปแบบคุมตัวแปร shutter speed, ISO, EV แต่ถ้ามองที่เว็บสากลระดับโลกก็ไม่มีใครมาคุมตัวแปรพวกนี้ เพราะ Smartphone มีข้อจำกัดที่ต่างจากกล้องแท้ๆ และพฤติกรรมการใช้งานก็ต่างด้วย

สาเหตุเพราะ Smartphone user เน้นการ Point n Shoot หยิบแล้วยิง และต้องเข้าใจว่า Smartphone user ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่อง Photographer ดังนั้นทุกอย่างต้อง Auto และมีโหมดตัวช่วยต่างๆ ให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น อยากได้ภาพสว่างก็เข้า Night mode โดยไม่ต้องรู้ด้วยซ้ำว่า shutter speed คืออะไร แต่ Software จะประมวลผลจำลองการตั้งค่า shutter speed ออกมาให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการนั่นล่ะ

หากมองในแง่ทฤษฎีจากมุม Camera user มันย่อมไม่ถูกหลักที่จะเรียกว่า “ลาก shutter speed” แต่ถ้ามองในมุม Smartphone user ที่คุ้นชินกับการขับเคลื่อนด้วย Software และโหมดตัวช่วยแล้ว มันไม่ได้ผิดแต่อย่างใด

ภายหลังเมื่อมีการแชร์บทความนี้ออกไปในแวดวงช่างภาพ ก็เกิดบทสนทนาต่างๆ ซึ่งผมขอหยิบความเห็นของน้านิ๊กมาให้ชม เนื่องจากได้ขออนุญาตเพื่อนำมาประกอบบทความเรียบร้อย

มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม 17
มุมมองของคนยุคใหม่ที่เล่นกล้อง Smartphone กับความต่างของคนอีกกลุ่ม 19

บางท่านพยายามทำความเข้าใจและอิงชื่อเรียกจากเทคนิคที่ทำงานเบื้องหลัง แต่ผลก็คือ Alogorithm การประมวลผลยุคใหม่มีความซับซ้อนกว่าเดิมมากในระดับ AI ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีแบบเดิม และมองว่าควรเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ

บทสรุปของเรื่องนี้ ผมจึงมองว่าการเรียกกระบวนการแบบนี้ว่า “ลาก shutter speed” ก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะมันเป็นการจำลองและพัฒนาต่อยอดจากการลาก shutter speed พร้อมกับประมวลผลว่าส่วนไหนควรสว่าง/มืด/เบลอ/นิ่ง/เคลื่อนไหว ฯลฯ ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นตามโหมดที่เราเลือกใช้งาน ซึ่งเป็นแนวทางของกล้องยุคใหม่นั่นเอง …เพียงแต่มันไม่ตรงกับทฤษฎีกล้องเดิมๆ นั่นล่ะ