รีวิว Sonnet eGFX Breakaway Box 650 กล่อง eGPU ที่ผ่านมาตรฐาน Apple

จากการเลือกซื้อ Mac mini 2018 เพื่อมาอัพเกรดและต่อขยายเพิ่มความสามารถ เป็นเหตุให้ Sonnet eGFX Breakaway Box 650 มาตั้งอยู่บนโต๊ะทำงานของผม เนื่องจากเป็นกล่อง eGFX สำหรับใส่ eGPU เพื่อเพิ่มพลังการประมวลผลด้านกราฟิก และเป็นรุ่นที่ผ่านเกณฑ์ของ Apple สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา

รีวิว Sonnet eGFX Breakaway Box 650 กล่อง eGPU ที่ผ่านมาตรฐาน Apple 3

โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้ Windows ไม่ค่อยสนใจ eGFX มากนัก เพราะสามารถประกอบคอมเลือกสเปคได้เอง จะมีบ้างที่เอามาใช้กับ Notebook ต่างจากฝั่ง macOS ที่สเปคค่อนข้างจำกัดเลยทำให้มีความสนใจ eGFX มากกว่า

รีวิว Sonnet eGFX Breakaway Box 650 กล่อง eGPU ที่ผ่านมาตรฐาน Apple 5

ความจริงแล้ว eGFX ก็เป็นเพียงกล่องสำหรับแปลงการ์ดจอทั่วไปให้กลายเป็น eGPU สำหรับต่อพ่วงนอกเครื่องได้ โดยกล่อง Sonnet eGFX Breakaway Box 650 รองรับทั้ง Windows และ macOS รวมถึงรองรับการ์ดจอทั้งฝั่ง Nvidia และ AMD Radeon แต่ macOS รองรับเฉพาะการ์ดจอ AMD Radeon เท่านั้น

แม้ว่าหลายคนจะติดปากว่า eGPU แต่ถ้าเรียกให้ถูกต้องจริงๆ ต้องบอกว่านี่คือกล่อง eGFX เพราะ eGPU หมายถึงตัวการ์ดจอที่อยู่ในกล่องนั้นอีกที บางแห่งเลยเรียกกล่องนี้ว่า eGPU Enclosure

จากการหาข้อมูลพบว่า Sonnet eGFX Breakaway Box 650 หาซื้อในไทยค่อนข้างยาก มีร้านค้าตัวแทนจำหน่ายวางขายที่ราวๆ 17,000 – 22,000 บาท แต่เท่าที่ลองสอบถามไปบางร้านพบว่าสินค้าหมด ผมเลยต้องสั่งซื้อจาก Amazon ที่เป็นร้านค้าอย่างเป็นทางการของ Sonnet ตีเป็นค่าเงินไทยคือ 11,264.96 บาท มีค่าจัดส่งทาง DHL และภาษีนำเข้าอีก 3,420.78 บาท เบ็ดเสร็จแล้วใช้ผมได้กล่องนี้มาในราคา 14,685.74 บาท โดยใช้เวลาจัดส่งราว 4 วัน

Sonnet eGFX Breakaway Box 650 ถูกออกแบบมาให้แกะได้ง่าย สามารถเปลี่ยน PSU และพัดลมได้ถ้าต้องการ โดยของเดิมที่ใส่มาให้เป็นแบบ 650 Watt และเชื่อมต่อผ่าน Thunderbolt 3 ที่ส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่า USB และ USB-C

รีวิว Sonnet eGFX Breakaway Box 650 กล่อง eGPU ที่ผ่านมาตรฐาน Apple 17

ถ้าต้องการใช้ AMD Radeon 5700 series ต้องใช้ macOS Catalina เป็นอย่างน้อย ถ้าเป็น macOS รุ่นต่ำกว่านั้นจะรองรับสูงสุดที่ AMD Radeon Vega 64 ที่ราคาพอกันแต่กินไฟเยอะกว่า ซึ่ง ณ วันที่ทำการรีวิว ผมเลือกใช้ AMD Radeon RX 570 เพราะ macOS Catalina ยังไม่ปล่อยให้ใช้งาน

รีวิว Sonnet eGFX Breakaway Box 650 กล่อง eGPU ที่ผ่านมาตรฐาน Apple 19

อีกประเด็นที่ควรรู้ก็คือ Notebook และ PC ฝั่ง Windows ส่วนใหญ่ไม่รองรับ Thunderbolt 3 ดังนั้นถ้าคิดจะเอาไปใช้งานก็ต้องหาตัวแปลงอีกที ส่วนทางฝั่ง Apple ได้แจ้งไว้ว่าการใช้งาน eGFX จะมีปัญหาน้อยเมื่อใช้ร่วมกับ Mac รุ่นที่ไม่มีการ์ดจอแยก ดังนั้นการใช้ร่วมกับ Mac mini 2018 ถือว่าลงตัวมากๆ

รีวิว Sonnet eGFX Breakaway Box 650 กล่อง eGPU ที่ผ่านมาตรฐาน Apple 21

ในการใช้งานร่วมกับ Mac mini 2018 จัดว่าไม่มีปัญหาอะไร เสียบแล้วก็ใช้ได้ทันที แต่จะมีเอ๋อนิดหน่อยตอนเปิดเครื่อง ก็คือถ้าเราเปิด eGFX ก่อนเข้าสู่หน้าจอ Login จะทำให้หน้าจอไม่แสดงผล ต้องทำการปิดแล้วเปิด eGPX ใหม่อีกครั้ง

รีวิว Sonnet eGFX Breakaway Box 650 กล่อง eGPU ที่ผ่านมาตรฐาน Apple 23

โดยปรกติแล้วตัว macOS จะทำการตัดสินใจให้เองว่าแอพไหนควรใช้ GPU ในตัวเครื่องหรือใช้ eGPU แต่ถ้าเราต้องการเลือกเองก็ได้ทำเช่นกัน

เรื่องของการประมวลผลที่ต้องใช้กราฟิกอย่างเช่นการเรนเดอร์คลิปวีดีโอบน Final Cut Pro เมื่อเทียบอย่างคร่าวๆ แล้วก็ถือว่าทำได้เร็วกว่าเดิมราวเท่าตัว นอกจากนี้เรายังสามารถสลับไปใช้บน Bootcamp เพื่อเล่นเกมได้อีกด้วย

ข้อดีอีกอย่างของการต่อการ์ดจอนอกแบบนี้ ก็คือความร้อนในตัวเครื่องจะลดลงด้วย เพราะเป็นการผลักภาระการประมวลผลกราฟิกให้ไปอยู่ที่ eGPU แทน

รีวิว Sonnet eGFX Breakaway Box 650 กล่อง eGPU ที่ผ่านมาตรฐาน Apple 29

นอกจากนี้ผมได้ลองทดสอบต่อเข้ากับ Dell XPS 13 2-in-1 โน้ตบุ๊ค Hi-End ราคา 89,900 บาท ซึ่งมีช่อง Thunderbolt 3 และก็พบว่าสามารถใช้งานได้ไม่มีปัญหา เพียงแต่ต้องติดตั้ง AMD Driver ก่อนใช้งาน หลังจากนั้นเมื่อมีการเสียบ eGPU ก็จะมีการเรียกใช้ AMD XConnect ให้อัตโนมัติ

แม้ว่าราคาเบ็ดเสร็จของตัว eGFX บวกกับราคาการ์ดจอจะดูค่อนข้างเยอะ แต่ถ้ามองว่ามันคือการ์ดจอที่สามารถยกไปเสียบกับเครื่องไหนก็ได้ ทำให้ Notebook หรือ MacBook สามารถมีการ์ดจอแรงๆ และยังสามารถอัพเกรดเปลี่ยนการ์ดจอได้ ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าในระยะยาว