หัวเว่ยมุ่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลเสริมแกร่งประเทศไทยด้วยการขยายส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัล สนับสนุนไทยสู่การเป็นดิจิทัลฮับ และขึ้นผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาเซียน

ในขณะที่ประเทศไทยยังเป็นตลาดกลยุทธ์หลักของหัวเว่ย หัวเว่ยเตรียมพร้อมเร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทยอย่างเต็มที่ ด้วยการขยายส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัลเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และการลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งในด้าน 5G คลาวด์ และการพัฒนาทักษะดิจิทัลในประเทศ โดยหัวเว่ยจะมุ่งเสริมแกร่งประเทศไทยสู่การก้าวขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน และผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาเซียน ตามพันธกิจของหัวเว่ยในการ “เติบโตในประเทศไทยและสนับสนุนประเทศไทย”

ทั้งนี้ หัวเว่ยยังได้ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในประเทศไทยอย่างใกล้ชิดในหลายโครงการตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ได้ส่งมอบโซลูชันการใช้ AI ส่งเสริมบริการด้านการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งช่วยส่งมอบผลการตรวจโควิด-19 ได้ในเวลาเพียง 25 วินาทีต่อเคส รวมทั้งได้จับมือกับสำนักงาน กสทช. เพื่อริเริ่มโครงการการใช้รถยนต์ไร้คนขับที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อใช้ในการขนเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และลดการสัมผัส นอกจากนี้ หลังจากการระบาดของโควิดระลอกใหม่ในประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยยังได้ส่งมอบระบบโทรเวชกรรมผ่านเทคโนโลยี 5G โซลูชันจัดการผู้ป่วยในพื้นที่ InPatient area Intelligent Management และโซลูชัน eLTE broadband trunking ให้แก่โรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท และได้ทำงานร่วมกับสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT) เพื่อบริจาคโซลูชันคลาวด์ให้แก่โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์อีกด้วย

หัวเว่ยมุ่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลเสริมแกร่งประเทศไทยด้วยการขยายส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัล สนับสนุนไทยสู่การเป็นดิจิทัลฮับ และขึ้นผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาเซียน 3

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเชื่อว่าหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลขึ้นอยู่กับการวางรากฐานในด้านการพัฒนาทักษะทางดิจิทัล ซึ่งหัวเว่ยได้สนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 อย่างต่อเนื่อง ผ่านการบ่มเพาะทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไทย โดยตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นเงิน 180 ล้านบาท เพื่อเปิดตัวศูนย์ Huawei ASEAN Academy และได้ฝึกอบรมบุคลากรไปแล้วกว่า 16,500 คนผ่านศูนย์ดังกล่าว

ในด้านธุรกิจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพของประเทศไทย หัวเว่ยได้ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม อาทิ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับดีป้า (depa) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ลูกค้ารวมถึงพาร์ทเนอร์ในไทยเพื่อให้การสนับสนุนเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพในด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ผ่านการส่งมอบความรู้ในระดับสากลและหลักสูตรการอบรมชั้นนำอย่าง Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย เพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพมีความเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับแผนธุรกิจได้

หัวเว่ยยังเชื่อว่าหัวใจสำคัญของการผลักดันการพัฒนาด้านดิจิทัลนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งทางบริษัทได้ผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผ่านการบ่มเพาะบุคลากรในไทย เพื่อช่วยลดช่องว่างเรื่องการขาดจำนวนบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทย ด้วยโครงการพัฒนาอย่าง Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย ซึ่งตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรที่ทำงานด้านไอทีในไทยให้ได้รับทักษะในระดับโลกเป็นจำนวน 100,000 คนภายในเวลา 5 ปีนี้