Android Q beta มาแล้ว! มาดูกันว่ามีอะไรใหม่บ้าง
วันนี้ Google ได้ปล่อย Android Q Beta ให้เหล่าผู้ใช้ Google Pixel ตั้งแต่รุ่น 1 ยันรุ่น 3 ให้ไปสัมผัสก่อนใคร สำหรับใครที่สนใจสามารถไปลงชื่อรออัปเดต OTA ได้ที่นี่ หรือใครรีบกว่านั้น สามารถเข้าไปโหลดไฟล์ Image มาแฟลชเองได้ที่นี่ สำหรับฟีเจอร์ใหม่ๆ มีดังนี้
จัดการการให้สิทธิ์เข้าถึง Location ได้ละเอียดขึ้น
สำหรับเวอร์ชันใหม่นี้ การให้สิทธิ์เข้าถึง Location จะละเอียดขึ้น โดยสามารถเลือกได้ว่าจะให้สิทธิ์ตลอดเวลา หรือให้สิทธิ์เฉพาะเวลาเปิดแอปอยู่เพื่อป้องกันแอปแอบเก็บ Location เราเวลาทำงานอยู่เบื้องหลัง
ปรับปรุงเรื่องความเป็นส่วนตัวให้แน่นหนาขึ้น
การให้สิทธิ์ต่างๆ จะเข้มงวดมากขึ้น อย่างเช่น การเข้าถึงไฟล์สามารถจำกัดได้ว่าให้แอปเข้าถึงไฟล์ไหนบ้าง สามารถกำหนดระดับความสำคัญของแอปเพื่อไม่ให้แอปที่ทำงานเบื้องหลังรบกวนการใช้งานหากไม่จำเป็น จำกัดการเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตัวเครื่อง เช่น IMEI, Serial Number เป็นต้น และสามารถสุ่ม MAC Address เวลาเชื่อมต่อ Wi-Fi คนละเครือข่ายได้
รองรับจอพับได้
เพิ่มความสามารถให้รองรับการใช้งานบนสมาร์ทโฟนจอพับได้ โดยเฉพาะปรับขนาดแอปให้เหมาะกับขนาดหน้าจอ
Sharing shortcuts
ใช้ API เดียวกับ App Shortcut ทำให้เวลาต้องการแชร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเปิดแอปอื่นเพื่อแชร์คอนเทนต์นั้นได้อย่างรวดเร็ว
Settings Panels
เป็นทางลัดในแอปให้คุณสามารถเข้าไปเปลี่ยนการตั้งค่าเครื่องที่อาจจะจำเป็นสำหรับแอปนั้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น เบราว์เซอร์อาจจะแสดงการตั้งค่า Wi-Fi, Airplane mode เป็นต้น
เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้การเชื่อมต่อ Wi-Fi
สามารถตั้งให้แอปไม่สามารถขอตำแหน่งจาก Wi-Fi ได้
เพิ่มความเก่งในการเชื่อมต่อ Wi-Fi แบบ peer-to-peer
การเชื่อมต่อ Wi-Fi แบบ peer-to-peer มักนิยมใช้ในการตั้งค่าอุปกรณ์ IoT สำหรับ Android Q ระบบจะทำการสแกน Wi-Fi และเสนอ Wi-Fi ที่ตรงกันโดยไม่ต้องขอตำแหน่ง
Wi-Fi performance mode
โหมดนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อ Wi-Fi และลด Latency โดยเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์จ้องรองรับด้วย
เพิ่มการจัดเก็บข้อมูลความลึกในรูปภาพ
Android Q สามารถเก็บข้อมูลความลึกของรูปภาพสำหรับทำภาพหน้าชัดหลังเบลอในไฟล์ JPEG ได้แล้ว โดยจะต้องเป็นรุ่นที่รองรับด้วย ซึ่งการมีข้อมูลตรงนี้ทำให้แอปอื่นๆ สามารถปรับแต่งเอฟเฟกต์ความลึกของภาพได้ด้วย
เพิ่ม Audio และ Video codec ใหม่ๆ
รองรับ AV1 รองรับ Opus รองรับ HDR10+ พร้อม API ใหม่ทำให้ทราบข้อมูลความสามารถในการเรนเดอร์วิดีโอของเครื่องคุณ
Native MIDI API
ช่วยลด Latency ในการประมวลผล MIDI
ANGLE on Vulkan
ยังเป็นการซัพพอร์ตในโหมดทดลองอยู่ การรองรับ ANGLE ทำให้เกมและแอปที่รองรับ Open GL ES ได้ใช้ข้อได้เปรียบด้านประสิทธิภาพและความเสถียรของ Vulkan
Vulkan everywhere
บังคับให้อุปกรณ์ 64 bit ที่ใช้ Android Q รองรับ Vulkan 1.1 และแนะนำให้รองรับสำหรับอุปกรณ์ 32 bit
Neural Networks API 1.2
เพิ่มการรองรับและปรับปรุงคุณภาพของ Neural Networks API
ART performance
ปรับปรุงให้เปิดแอปเร็วขึ้น ใช้ Memory น้อยลง โดยผู้พัฒนาแอปไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลย
ความปลอดภัยสำหรับแอป
รองรับระบบความปลอดภัย Bio-metric เช่น สแกนหน้า สแกนนิ้ว สำหรับแอปต่างๆ รองรับ
TLS 1.3
และทั้งหมดนี้คือความเปลี่ยนแปลงของ Android Q Beta ทาง Google วางแผนจะปล่อยทั้งหมด 6 เวอร์ชัน ก่อนจะปล่อยเวอร์ชันสมบูรณ์ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2019