รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019

หากคิดจะใช้งาน macOS ด้วยงบที่น้อยที่สุด ดูเหมือน Mac mini 2018 จะเป็นคำตอบที่น่าสนใจ เพราะมีราคาเริ่มต้นแค่ 27,900 บาทเท่านั้น โดยเฉพาะคนที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่าง หน้าจอ, เมาส์และคีย์บอร์ดอยู่แล้ว ก็ช่วยให้ได้ใช้งาน macOS ในราคาที่ถูกลงมา รวมถึงการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ได้ดั่งใจ

เหตุผลที่เลือก Mac mini 2018 ในปี 2019

แม้ว่า Mac mini 2018 จะมีราคาเริ่มต้นที่ถูกกว่ารุ่นอื่น แต่กลับเป็น Mac ที่หลายคนมองข้าม เพราะคิดว่าอัพเกรดนั่นนี่บวกงบไปมา ก็ไปใช้ iMac หรือ MacBook Pro ดีกว่า ซึ่งผมเองก็เคยคิดแบบนั้น จนกระทั่งสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป

ก่อนหน้านี้ผมใช้รุ่นอื่นๆ มาแล้วทั้ง MacBook และ iMac ซึ่งทั้งคู่ก็มีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างกันแต่ยังไม่ตอบโจทย์ของผม รูปแบบการใช้งานที่ผมต้องการ ณ ตอนนี้คือเน้นการวางตั้งโต๊ะ อัพเกรดได้ง่าย และใช้ร่วมกับหน้าจอ, เมาส์และคีย์บอร์ด ตัวอื่นๆ ได้สะดวก

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 3

นอกจากนี้ผมยังต้องการใช้ Windows สำหรับงานบางประเภท ซึ่งการรัน Windows บน MacBook หรือ iMac ให้ความรู้สึกที่ไม่ User Friendly เท่าที่ควร โดยเฉพาะเรื่องของคีย์บอร์ดที่จัดวาง Layout บางปุ่มต่างกับ Windows หรือรูปลักษณ์ Form Factor ที่ดูแล้วไม่รู้สึกว่าเรากำลังใช้ Windows อยู่จริงๆ (ผมอาจคิดแบบนี้คนเดียวก็ได้)

สั่ง CTO แบบเผื่ออัพเกรดในราคาประหยัด

ผมสั่ง CTO ผ่านหน้าเว็บ Apple เพื่อปรับแต่งสเปคตามต้องการ โดยผมเลือกรุ่นราคาถูกที่สุด 27,900 บาท แล้วเปลี่ยน CPU จาก Intel Core i3 ให้เป็น Intel Core i7 แทน ส่วนที่เหลือก็เหมือนเดิมหมด ราคาก็จะออกมาที่ 38,400 บาท

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 5

สิ่งที่ได้จาก Mac mini 2018 ในราคา 38,400 บาทก็คือ

  • CPU Intel Core i7
  • RAM 8GB DDR4 2666MHz
  • GPU Intel UHD Graphics 630
  • SSD 128GB
  • Gigabit Ethernet
  • Bluetooth 5.0
  • Wi-Fi 802.11ac

ซึ่งถ้าว่ากันตามตรง ด้วยงบขนาดนี้ถ้าเป็นคอมประกอบจะได้สเปคที่อลังการมาก แต่เพราะผมต้องการ macOS ทำให้คอมประกอบไม่ตอบโจทย์นี้

บางคนอาจบอกว่าราคานี้ไปประกอบคอมแล้วลง Hackintosh ดีกว่า ซึ่งก็เป็นวิธีที่หลายคนนิยม แต่ผมรู้สึกว่ามันวุ่นวายเกินไป ผมต้องการของที่พร้อมใช้และปัญหาน้อย

อัพเกรดเพิ่มแรมเอง ประหยัดไป 18,420 บาท

หลังจากสั่ง CTO ได้ราว 2 วันก็มีข้อความ SMS และอีเมลแจ้งว่าสินค้าจะถูกส่งออกจากจีน และใช้เวลาอีก 2 วันในการจัดส่งผ่านทาง DHL เบ็ดเสร็จรวมแล้วใช้เวลา 4 วันในการจัดส่งถึงมือ

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 7

ด้วยสเปคที่ผมสั่ง CTO ไปนั้นต้องบอกว่าอึดอัดแน่นอนถ้าไม่เอามาอัพเกรด แม้ว่าแรม 8GB สำหรับ macOS ที่ทำงานร่วมกับ SSD จะให้ประสิทธิภาพที่ดี แต่มันก็สู้แรมเยอะๆ ไม่ได้ รวมถึง SSD 128GB น้อยมากสำหรับการใช้งานเป็นเครื่องหลัก ก็เลยต้องจัดแจงอัพเกรดให้เข้าที่เข้าทาง

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 9

Mac mini 2018 รองรับแรมสูงสุดที่ 64GB สิ่งที่ผมทำก็คืออัพเกรดแรมจากของเดิมที่มีมาให้ 8GB ( เป็นแรม 2 ช่องคือ 4GB+4GB ) โดยเลือกใช้บริการจากร้าน Memory Today เพราะแม้ว่ารุ่นนี้จะแกะฝาเพิ่มแรมได้แต่ก็ทำได้ไม่ง่าย โดยผมแจ้งทางร้านว่าต้องการใส่แรมให้มากที่สุด ซึ่งแรมที่หาได้ตอนนี้คือ Transcend 32GB ( 16GB+16GB ) เบ็ดเสร็จจ่ายค่าอัพเกรดแรมไป 5,580 บาท

ถ้าสั่ง CTO เลือกแรม 32GB ผ่านเว็บ Apple ต้องจ่ายเพิ่ม 24,000 บาท แต่อัพเกรดเอง 5,580 บาท ประหยัดไป 18,420 บาท

แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วเราสามารถเพิ่มแรมได้ แต่บนหน้าเว็บ Apple ระบุไว้ว่า Mac mini 2018 ไม่มีแรมที่ติดตั้งได้เอง ถ้าต้องการเพิ่มแรมต้องสั่ง CTO หรือให้ติดต่อ Apple Store หรือร้านที่ได้รับอนุญาตจาก Apple ตรงนี้เลยเป็นข้อโต้แย้งกันที่ต่างประเทศ เพราะเว็บใหญ่บอกว่าประกันขาดแน่นอนถ้าทีมช่างของ Apple เห็นว่าเราไปใส่แรมเอง ส่วนความเห็นจากผู้ใช้บางคนก็บอกว่าประกันไม่ขาด ก็เลยอยากเตือนให้ระวังเรื่องนี้ด้วย

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 11

เพิ่มพื้นที่ SSD แบบภายนอก ประหยัดไปราว 15,000 บาท

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 13

ข้อเสียอีกอย่างของรุ่นนี้คือ SSD ถูกฝังไปกับตัวบอร์ด ไม่สามารถอัพเกรดเพิ่มได้ แต่ความโชคดีก็คือ Mac mini 2018 มี Thunderbolt 3 จำนวน 4 ช่อง ที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงที่สุดเท่าที่จะหาได้ในท้องตลาด บวกกับเราสามารถหาซื้อ SSD m.2 NVMe ได้ในราคาที่ถูกลงกว่าแต่ก่อน นี่จึงเป็นตัวเลือกในการอัพเกรดที่ดีมาก

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 15
ความเร็วของ SSD ใน Mac mini 2018

ผมเลือกใช้ External SSD แล้วตั้งค่าให้บูทจาก External SSD แทนหน่วยความจำในเครื่อง โดยสั่งซื้อ Thunderbolt 3 SSD M.2 NVMe Enclosure และหา SSD NVMe ราคาโดนใจ และผลออกมาก็คือกล่อง Enclosure จาก AliExpress ราคา 2,726 บาท ( ในไทยเห็นขายกันเกือบ 5,000 บาท ) และ Samsung 970 Evo Plus 1TB ในราคา 5,999 บาท เบ็ดเสร็จผมได้ความจุ 1TB ด้วยสปีดที่เร็วพอตัวในราคาราว 8,725 บาท

อธิบายเพิ่มนิดครับ การต่อขยายแบบไม่ได้แกะยัดในเครื่องเลย บางคนก็มองว่านี่มันไม่ใช่การอัพเกรดแต่คือการต่อเพิ่ม ซึ่งก็ถูกครับ แต่ผมใช้คำนี้เพราะสื่อสารได้ง่าย

อีกเหตุผลที่ผมเรียกว่าอัพเกรด SSD เพราะว่าหลายคนมอง External SSD ว่าทำหน้าที่เหมือน Flash Drive ที่ใช้ต่อขยายโดยติดตั้ง OS ในตัวเครื่อง แต่ผมใช้วิธีติดตั้ง macOS และบูทจาก External SSD มันเลยให้ผลลัพธ์ในการใช้งานไม่ต่างจาก Internal SSD ที่อยู่ในตัวเครื่อง

เหตุผลสุดท้ายก็คือ Form Factor ที่การใช้งานในลักษณะ Desktop PC ไม่ได้เคลื่อนย้ายบ่อยๆ การต่อพ่วงเพิ่มเลยไม่ใช่ปัญหา ไม่ต่างจากการอัพเกรดในตัวเครื่องมากนัก ต่างจาก Notebook ที่การต่อ External SSD เป็นเรื่องที่ไม่สะดวก

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 17
ความเร็ว Samsung 970 Evo Plus 1TB + Enclosure JEYI Thunderbolt 3

ถ้าสั่ง CTO เลือก SSD 1TB ผ่านเว็บ Apple ต้องจ่ายเพิ่ม 24,000 บาท แต่อัพเกรดเอง 8,725 บาท ประหยัดไป 15,275 บาท

ในทางทฤษฎีแล้ววิธีนี้ให้สปีดความเร็วสูงสุดที่ราวๆ 3,000 MB/sec ทั้งการอ่านและเขียนไฟล์ ขึ้นอยู่กับ NVMe และ Enclosure ที่เลือกใช้ แต่ถ้าอยากประหยัดงบก็สามารถเลือกใช้ SSD แบบอื่นๆ ที่ราคาถูกลงมา (แต่ไม่แนะนำ External HDD เพราะมันช้ามาก )

ระหว่างรอ Enclosure JEYI Thunderbolt 3 ส่งจากจีน ผมก็เลยเอา Crucial P1 มาใช้ชั่วคราว ความเร็วการอ่านเขียนที่ออกมาจะอยู่ที่ราวๆ 900 MB/sec ( ความจริง Crucial P1 มันเร็วกว่านี้ แต่มันคอขวดถูกจำกัดความเร็วเพราะตัว Enclosure USB-C )

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 19
ความเร็ว Crutial P1 1TB + Orico Enclosure 10Gbps

ประสิทธิภาพและประสบการณ์ใช้งานจริง

หลังจากทำการอัพเกรดแรมและ SSD แล้ว มาถึงตอนนี้ผมใช้งบไปทั้งหมด 52,705 ซึ่งถ้าสั่ง CTO สเปคเดียวกันจาก Apple จะต้องใช้เงิน 86,400 บาท เท่ากับว่าประหยัดไป 33,695 บาท ทีนี้ก็มาดูว่าประสิทธิภาพในการใช้งานจริงจะออกมาเป็นยังไง

อุณหภูมิและการระบายความร้อน

สิ่งแรกที่ผมอยากพูดถึงก็คือเรื่องของความร้อน เนื่องจากหลายคนบอกว่ารุ่นนี้ร้อนเอาเรื่อง จากการใช้งานจริงของผม ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้สภาพอากาศเมืองไทยแบบไม่เปิดแอร์ ก็พบว่าอุณหภูมิชิ้นส่วนภายในอยู่ระหว่าง 55-79 องศา

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 27

ซึ่งความร้อนระดับนี้สำหรับ PC Desktop ก็ไม่ถือว่าสูง แต่ประเด็นอยู่ตรงที่วิธีการระบายความร้อน เนื่องจาก Mac mini 2018 ใช้วิธีเป่าลมร้อนออกมาด้านหลัง และใช้บอดี้ช่วยระบายความร้อนประหนึ่ง Heat sink ทำให้คนที่ลองสัมผัสบอดี้รู้สึกว่ามันร้อนไปหน่อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีลดความร้อนเลย เพราะนอกจากจะเล่นในห้องแอร์เย็นๆ แล้ว ยังมีวิธีที่ช่วยลดความร้อนได้เช่น

  • DIY แกะฝาเครื่อง ทำระบบระบายความร้อนเอง
  • หาแท่นพัดลมมาวางรอง
  • หาแท่นมาวางในแนวตั้ง
  • ใช้ eGFX หรือ eGPU แทน
  • ไม่ใช้ Google Chrome

การ DIY คงไม่เหมาะกับทุกคน ดังนั้นผมแนะนำวิธีง่ายสุดคือหาพัดลมมาใช้ ซึ่งถ้าต้องการแท่นพัดลมสวยๆ เลยก็มีของ Speed Designs ราคา 149 USD ( ราว 4,500 บาท ) ซึ่งเค้าบอกว่าช่วยลดอุณหภูมิได้ 15-30 องศา

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 29

แต่สำหรับคนงบน้อยอย่างผมก็เลือกที่จะใช้ฐานพัดลมรองโน้ตบุ๊คราคา 75 บาทจาก Lazada และผลลัพธ์ที่ได้คืออุณหภูมิลดลงไปอยู่ระหว่าง 46-53 องศา ด้วยการใช้งานในลักษณะเดียวกัน ถือว่าทำได้ดีเกินคาด

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 31

ส่วนวิธีที่หาฐานมาวางเครื่องในแนวตั้ง เมืองนอกเค้าแนะนำของ NuStand ราคา 14.75 USD ( ราว 450 บาท ) ซึ่งอันนี้ผมยังไม่เห็นผลทดสอบที่ชัดเจน แต่ก็มีความเห็นตามที่ต่างๆ บอกว่ามันช่วยลดความร้อนลงได้พอตัว

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 33

วิธีสุดท้ายที่เค้าบอกว่าช่วยลดความร้อนลงได้เยอะและเพิ่มประสิทธิภาพด้วย คือการเปลี่ยนไปใช้ eGPU หรือ eGFX เพื่อลดภาระการประมวลผลกราฟิกในตัวเครื่อง ซึ่งวิธีนี้ต้องบอกเลยว่าราคาไม่ถูก เพราะการ์ดจอแบบต่อขยายเบ็ดเสร็จแล้วก็ราคาไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท แล้วแต่ว่าจะเลือกการ์ดจอแรงแค่ไหน แต่ดีตรงที่เราสามารถหิ้วไปต่อเครื่องไหนก็ได้

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 35

eGPU หรือ eGFX ที่หน้าเว็บ Apple แนะนำไว้ก็มีหลายรุ่น แต่รุ่นที่รองรับการ์ดจอได้เยอะสุดจะมี 2 รุ่น อันแรกคือ Sonnet eGFX Breakaway Box 650W ราคา 349.99 USD ( ราว 10,700 บาท ) ถ้าหาจากร้านในไทยจะอยู่ที่ 17,500 บาท ซึ่งเป็นราคาถูกสุดที่ผมหาได้ อีกรุ่นจะเป็น Razer Core X ราคา 299 USD ( ราว 9,100 บาท ) ซึ่งผมยังหาร้านในไทยไม่ได้

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 37

ข้อสุดท้ายคือการไม่ใช้ Google Chrome เพราะรายนี้ไม่ค่อยถูกจริตกับ macOS เท่าไร ถ้าใช้บน MacBook ก็แบตเตอรี่หมดไว ถ้าใช้บน Mac mini ก็ร้อนง่าย ผมลองทดสอบใช้งาน Chrome ประมาณ 10 นาที ก็พบว่ามันร้อนขึ้นแบบรู้สึกได้ และพอปิดได้ 1 นาทีก็เย็นลงราว 5 องศาทันที

ความลื่นไหลในการใช้งานแบบอิง Benchmark

ด้วยความที่เป็น macOS ของแท้ แม้จะนำมาต่อขยายและตั้งค่าให้บูทจาก External SSD ก็ยังทำงานได้แบบของแท้ ต่างจากการประกอบคอมแล้วติดตั้ง Hackintosh ที่มักมีปัญหาจุกจิกกวนใจ จึงทำให้ประสบการณ์ใช้งาน User Experience ไม่ต่างจากการใช้ Mac แรงๆ แต่ก็ต้องหาวิธีจัดโต๊ะให้ดี เพราะการต่อพ่วงไปยังอุปกรณ์ต่างๆ อาจทำให้สายดูรก

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 39

ในแง่ของความเร็ว CPU ต้องบอกว่า Intel Core i7-8700B 6 Cores 12 Threads นี่จัดว่าเป็น Mac ที่แรงอันดับต้นๆ ของปี 2019 แล้ว เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นผมขอยกภาพตารางคะแนนจาก Geekbench มาให้ดูครับ

ส่วนการทดสอบรัน Geekbench บนเครื่องของผมก็มีคะแนนต่างออกไปเล็กน้อย คือคะแนนสูงกว่าตารางบนหน้าเว็บ

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 45

ส่วนเรื่องของกราฟิกจากการทดสอบ OpenCL ของ Geekbench ได้ไป 5205 คะแนน ถ้าให้เทียบก็อยู่ที่ประมาณ GeForce 930M หรือ AMD Radeon HD 5800 Series

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 47

ด้านคะแนนกราฟิกจากการทดสอบ Metal ของ Geekbench ได้ไป 4952 คะแนน ใกล้เคียงกับ NVIDIA GeForce GT 755M

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 49

ด้วยประสิทธิภาพการ์ดจอก็แน่นอนว่าไม่เหมาะกับการเอาไปเล่นเกม ( จะว่าไปผมไม่เคยเห็นใครเอา Mac มาเล่นเกมจริงจังเลยนะ )

ถ้ามีงบแล้วอยากอัพการ์ดจอให้ขึ้นไปอีก ผมแนะนำให้ดูรีวิว Sonnet eGFX Breakaway Box 650 เพิ่มเติมครับ

ความเงียบในการทำงาน

การระบายความร้อนผ่านบอดี้และใช้พัดลมดูดออกด้านหลัง ทำให้ในการใช้งานส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างเงียบ ยกเว้นช่วงที่ประมวลผลหนักๆ เช่นการเรนเดอร์วีดีโอ พัดลมจะรันเต็มสปีดทำให้มีเสียงลมเป่าแต่ก็ไม่ได้ดังจนกวนใจ

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 51

ความลื่นไหลในการใช้งานแบบอิงความรู้สึก

ถ้าอ้างอิงจากความรู้สึกในการใช้งาน ก็ต้องบอกว่าด้วยการปรับแต่งท่านี้ มันทำงานได้ลื่นไหลกว่า MacBook Pro 15″ 2018 ตัวทอปที่ผมซื้อมาในราคาราวๆ หนึ่งแสนบาท ไม่ว่าจะเป็นอาการค้างที่น้อยกว่า รวมไปถึงการประมวลในการใช้งานทั่วไปที่ลื่นไหลกว่าแบบรู้สึกได้ ส่วนงานที่ต้องใช้ GPU เช่นการตัดต่อวีดีโอ ก็บอกตามตรงว่ายังไม่มีโอกาสเทียบกันจริงๆ จังๆ แต่สื่อต่างชาติบอกว่า Render ได้ช้ากว่าเพราะไม่มีการ์ดจอแรงๆ

ระบบภาพและเสียง

Mac mini 2018 รองรับความละเอียดจอสูงสุด 5120×2880 ที่ 60Hz ด้วยการเชื่อมต่อผ่าน Thunderbolt 3 และรองรับหน้าจอได้สูงสุด 3 จอ ส่วนคุณภาพที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับหน้าจอที่เลือกใช้ ซึ่งผมใช้หน้าจอ Philips 4K Ultra HD LCD 276E8VJSB/67 ขนาด 27 นิ้ว สีสัน sRGB 109% ความละเอียด 3840×2160 แบบ 60Hz ก็ออกมาดูดีไม่มีปัญหาอะไร

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 53

เรื่องของเสียงที่ออกมาจากตัว Mac mini 2018 ความดังอยู่ในระดับที่นั่งโต๊ะทำงานก็ฟังได้ยินชัดเจน เนื้อเสียงอยู่ในระดับพอฟังได้ ไม่เหมาะจะเอาไปฟังเพลง ผมแก้ไขด้วยการใช้แอพ Boom 3D ช่วยปรับแต่งเสียงก็ดีขึ้นหน่อย แต่ถ้าต้องการดูหนังฟังเพลงจริงจัง แนะนำว่าควรต่อหูฟังหรือลำโพงจะดีกว่า

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 55

นอกจากนี้การที่ไม่มีไมค์ในตัวทำให้ไม่สามารถสั่งงาน Siri ได้ ผมเลยต่อเข้ากับ Shure MV51 ผลคือทำงานได้ดีไม่มีที่ติ

ประกัน Apple Care+

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 57

ข้อดีของ Mac mini คือประกัน Apple Care+ ถูกกว่า Mac แบบอื่นๆ ด้วยราคาเพียงแค่ 3,200 บาทเท่านั้น การคุ้มครองก็จะขยายจาก 1 ปีเป็น 3 ปี แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังเรื่องของการอัพเกรดแรมเองที่อาจทำให้ประกันขาดได้

บทสรุปโดยรวม

Mac mini 2018 เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เหมาะกับคนที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงอยู่แล้วหรือชอบการ Custom ประเภทว่าเลือกหน้าจอเอง เลือกนั่นนี่เอง ถ้าเน้นการใช้งานแบบตั้งโต๊ะแล้วถือว่าน่าสนใจกว่าการเอา MacBook Pro มาเปิด Desktop Mode แล้วเสียบหน้าจอ ( Apple เรียกการพับหน้าจอแล้วต่อจอนอกว่า closed-clamshell )

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 59

ก่อนหน้านี้ผมเคยใช้วิธีนั้นแล้วรู้สึกเหมือนใช้งานผิดประเภท และน่าจะมีปัญหาในระยะยาวทั้งเรื่องความร้อนสะสมและเรื่องแบตเตอรี่ แต่ดีตรงความเป็นโน้ตบุ๊คที่ถอดสายแล้วย้ายไปทำงานได้ทุกที่ ถ้าจะให้ซื้อ iMac แล้วมาต่อ External SSD ก็รู้สึกเสียดาย Fusion Drive ในตัวเครื่อง ที่สำคัญก็คือหน้าจอรวมถึงเมาส์และคีย์บอร์ดที่มีอยู่ก็จะถูกวางทิ้งไร้ประโยชน์ หากเลือกใช้ iMac

รีวิว Mac mini 2018 แบบสั่ง CTO เน้นอัพเกรดเอง ประหยัดไป 34,000 บาท ฉบับปี 2019 61

และอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผมตัดสินใจเลือก Mac mini 2018 ก็เพราะในภาพรวมแล้วสินค้า Apple มีราคาสูงขึ้นจาก 2-3 ปีก่อน ถ้าให้กำเงินก้อนไปซื้อ Mac ในราคาราว 80,000-100,000 บาทก็เกินงบที่ตั้งไว้ แต่ถ้าใช้วิธีซื้อ Mac mini 2018 ที่สเปคดีพอสำหรับการใช้งาน แล้วค่อยๆ ตามเก็บชิ้นส่วนเพื่ออัพเกรดในช่วงที่ Hardware ลดราคา ก็น่าจะช่วยให้ได้สเปคที่สูงในราคาที่ประหยัดกว่า

อย่างเช่นถ้าอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ มีราคาถูกลง ผมอาจจะไปหา SSD NVMe 2TB มาต่อทำ RAID รวมกันเป็น 8TB หรืออาจหาการ์ดจอมาต่อ eGPU เพิ่มความแรงทั้งการใช้งาน macOS หรือสลับไป Windows 10 เพื่อเล่นเกมก็ยังได้

แนวทางการปรับแต่ง Mac mini 2018 นี้อาจไม่เหมาะกับทุกคน แต่เป็นอีกตัวเลือกที่เหมาะกับการต่อขยายอัพเกรดในระยะยาวมากๆ