“ธุรกิจเก่าไป ใหม่ไม่มา” อีกสัญญาณลบสะท้อนเศรษฐกิจซบเซา

EIC ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถานะนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปี 2563 (ข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 6 มีนาคม 2563) พบว่าข้อมูลดังกล่าวถือเป็นอีกเครื่องชี้หนึ่งที่สะท้อนถึงภาวะความซบเซาของธุรกิจภาคเอกชน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ธุรกิจเก่าไป ใหม่ไม่มา จากข้อมูลพบว่าจำนวนธุรกิจที่แจ้งเลิกกิจการเพิ่มสูงขึ้นจาก 4 พันรายในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปี 2562  มาเป็น 4.9 พันรายในช่วงเดียวกันปี 2563 คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 22.3% นอกจากนี้จำนวนบริษัทที่มีปัญหาทางการเงิน ได้แก่ กิจการที่มีสถานะถูกพิทักษ์ทรัพย์และล้มละลายก็เพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 138 เป็น 202 ราย คิดเป็นการเพิ่มขึ้นสูงถึง 46.4% ขณะเดียวกันยอดการจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่กลับลดลงจาก 1. العب اون لاين مجانا 5 หมื่นเหลือ 1.4 หมื่นราย หรือคิดเป็นการลดลง -5.3% การออกจากธุรกิจ
ที่มากขึ้น (“เก่าไป”) และการจัดตั้งกิจการที่ลดลง (“ใหม่ไม่มา”) เป็นอีกภาพสะท้อนของสภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยปัจจัยลบ
ในหลายด้านซึ่งส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของหลายกิจการ รวมถึงความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจของภาคเอกชน

“ธุรกิจเก่าไป ใหม่ไม่มา” อีกสัญญาณลบสะท้อนเศรษฐกิจซบเซา 3

สถานการณ์ยิ่งน่าเป็นห่วงสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสะสมมาในช่วงก่อนหน้า ปัจจัยลบทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้าทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า ความซบเซาของกำลังซื้อในประเทศ ตลอดจนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (tech disruption) ได้ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในภาคการส่งออกสินค้าและภาคบริการทรุดตัวลงจึงกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากเป็นพิเศษ ข้อมูลสถานะกิจการที่ธุรกิจรายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปีได้สะท้อนภาพที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

  • จำนวนการเลิกกิจการและจำนวนกิจการที่มีปัญหาทางการเงินเพิ่มสูงขึ้นในหลายสาขาธุรกิจ โดยธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวอย่างธุรกิจโรงแรมมียอดรวมของทั้ง 2 กลุ่มเพิ่มขึ้นสูงถึง 56.5% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยอย่างชัดเจน ขณะที่ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกเพิ่มขึ้น 20. العاب تربح منها المال 8% สำหรับภาคการผลิตและภาคบริการหลักอื่น ๆ ได้แก่ ร้านอาหาร ขนส่ง ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ล้วนแล้วแต่มีการเลิกกิจการและมีปัญหามากขึ้นเช่นกัน 
  • จำนวนการจัดตั้งนิติบุคคลใหม่ในธุรกิจโรงแรม และค้าส่ง-ค้าปลีกลดลง 17.7% และ 9.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ในภาคการผลิต (manufacturing) ที่ได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อทั้งในและต่างประเทศ
    ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่องและในปัจจุบันยังมีอุปสรรคในการผลิตและขนส่งสินค้า (supply chain disruption) มียอดการจัดตั้งกิจการใหม่ลดลง 16.7% โดยมีสาขาธุรกิจที่มียอดจัดตั้งใหม่ลดลงมาก เช่น ยานยนต์ (-46. روليت امريكي 2%) คอมพิวเตอร์ (-37.5%) เครื่องจักร (-24.8%) อย่างไรก็ดี ในช่วงดังกล่าวยังคงมีสาขาธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ร้านอาหาร ขนส่ง และก่อสร้าง
“ธุรกิจเก่าไป ใหม่ไม่มา” อีกสัญญาณลบสะท้อนเศรษฐกิจซบเซา 5

ในระยะต่อไปภาวะการเข้า-ออกธุรกิจของไทยยังมีความเสี่ยง เพราะยังมีแนวโน้มที่จะมีการปิดกิจการอีกมากจากผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ที่อาจยืดเยื้อโดยเฉพาะกลุ่มที่มีสภาพคล่องทางการเงินไม่เพียงพอ หรือมีภาระหนี้สูง นอกจากนี้ความเชื่อมั่นที่ลดต่ำลงจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็จะทำให้การเริ่มธุรกิจใหม่ถูกชะลอออกไปอีกด้วย ทั้งนี้ยังอาจมีสาเหตุอื่นในเชิงโครงสร้างที่ทำให้กิจการไทยมีจำนวนน้อยลงในระยะยาว เช่น การกระจุกตัวของยอดขายในธุรกิจขนาดใหญ่น้อยราย (market concentration) ที่มักส่งผลให้การเพิ่มขึ้นของธุรกิจหน้าใหม่ลดน้อยลง หรือแนวโน้มการลดลงของการเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มคนอายุน้อย (จากข้อมูลการสำรวจกำลังแรงงานล่าสุดในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2562 สัดส่วนของคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปีที่ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของธุรกิจอยู่ที่เพียง 15.2% ของจำนวนแรงงานอายุน้อยกว่า 35 ปีทั้งหมด ลดลงจากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 21.4%) การลดลงของธุรกิจหน้าใหม่นี้มีแนวโน้มส่งผลให้การเติบโตของระดับผลิตภาพและการขยายตัวของการลงทุนของภาคธุรกิจลดต่ำลงในระยะยาว

“ธุรกิจเก่าไป ใหม่ไม่มา” อีกสัญญาณลบสะท้อนเศรษฐกิจซบเซา 7

การรักษาสถานะทางการเงิน การบริหารคน และการปรับใช้เทคโนโลยี เป็น 3 ปัจจัยสำคัญสำหรับการเอาตัวรอด
ในภาวะวิกฤติ
 การศึกษาในต่างประเทศจากบทความ “How to Survive a Recession and Thrive Afterward” ในวารสาร Harvard Business Review ชี้ว่าในภาวะเศรษฐกิจขาลงธุรกิจยังสามารถเอาตัวรอด หรือกระทั่งเติบโตได้หากมีการเตรียมพร้อมรับมือที่ดี โดยธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการบริหารการเงินโดยเฉพาะการลดหนี้และการเพิ่มสัดส่วนเงินสด เพื่อทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้และยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการลงทุนอีกด้วย ในด้านการบริหารคน การพิจารณาการปลดคน (layoff) อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเสมอไป เพราะแม้จะช่วยลดต้นทุน แต่จะทำให้พนักงานที่เหลืออยู่เสียกำลังใจซึ่งจะกระทบผลิตภาพ รวมถึงอาจจะหาคนทดแทนยากช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว ธุรกิจจึงอาจพิจารณาทางเลือกแบบชั่วคราว เช่น การลดชั่วโมงทำงาน หรือการให้พักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (leave without pay) เป็นต้น และหากยังพอมีกำลัง ธุรกิจควรใช้โอกาสในการลงทุนด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิต การลงทุนในด้าน data analytics ที่จะช่วยให้เข้าใจสถานการณ์
ที่ไม่แน่นอนอย่างในภาวะวิกฤติได้ดีขึ้น ทั้งนี้การลงทุนในเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มความว่องไว (agility) ให้กับองค์กรมากขึ้นสำหรับการปรับตัวทั้งในช่วงเวลาที่แย่และช่วงที่กลับมาฟื้นตัว