แนะนำแนวทางเลือกเซิร์ฟเวอร์สำหรับ WordPress ( update 11/2021 )

WordPress เป็นระบบเว็บสำเร็จรูปที่แจกฟรี แต่ถ้าจะทำออกมาให้ดีก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไร โดยส่วนที่สำคัญมากๆ ก็คือการเลือกเซิร์ฟเวอร์ เนื่องจากเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพ ความเสถียร ความเร็ว และความปลอดภัยของข้อมูล

ภาพรวมของเซิร์ฟเวอร์สำหรับ WordPress

โดยรวมแล้วเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ทำ WordPress มีอยู่ไม่กี่แบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีราคาต่างกัน และมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน และแต่ละที่ก็มีเงื่อนไขข้อจำกัดรวมถึงการปรับจูนที่ต่างกัน ในภาพรวมแล้วผมขอแบ่งกลุ่มแบบง่ายๆ คือ

  1. Shared Hosting ข้อดีคือราคาถูก ข้อเสียคือข้อจำกัดเยอะ
  2. Cloud / VPS ข้อดีคือประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือราคาแพงกว่า

ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว 2 แบบที่กล่าวมาจะเป็นเพียงการแบ่งในแง่ประสิทธิภาพและข้อจำกัด แต่ในความเป็นจริงแล้วมีประเด็นอื่นที่ต้องเอามาพิจารณาด้วยอย่างเช่น ระบบ Backup, Service หรือฟีเจอร์ต่างๆ, ความเสถียร, แผงควบคุม Control Panel

เลยให้มีสิ่งที่เรียกว่า Websites as a Service ( Waas ) หรือพวก Infrastructure as a Service ( IaaS ) ที่อธิบายง่ายๆ ว่ามันมีบริการอีกประเภทที่แปลงเรื่องวุ่นวายหลักฉากพวกนี้ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น

ซึ่งพวกนี้จะทำการติดตั้ง Service และฟีเจอร์พื้นฐานต่างๆ ไปยัง Cloud/VPS เพื่อให้เราควบคุมและทำเว็บได้ง่ายขึ้น

ความแตกต่าง Shared Hosting และ Cloud

ที่จริงแล้วของออนไลน์ทุกอย่างที่เราใช้มันต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลและประมวลผล เรามักจะใช้คำว่า Shared Hosting ในการสื่อสารถึงเซิร์ฟเวอร์ราคาถูก ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานเบื้องต้น แต่ข้อจำกัดเยอะเพราะเป็นการใช้ร่วมกับคนอื่น ไม่ซีเรียสนักถ้ามันจะช้าหรืออาจจะล่มในบางเวลา

พอมีคำว่า Shared Hosting ก็จะตามมาด้วยคำว่า VPS ซึ่งย่อมาจาก Virtual Private Server ซึ่งหมายถึงการจัดสรรค์ทรัพยากรต่างๆ ให้เราโดยเฉพาะ ทำให้เรามีอิสระสูงขึ้นไม่ต่างจากการมีเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว และประสิทธิภาพก็สูงตามไปด้วย แม้ว่าที่จริงแล้วเรายังใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ร่วมกับคนอื่น เพียงแต่จับจองทรัพยากรต่างๆ ตีเส้นขอบเขตไว้ชัดเจน

Server room interior in datacenter. 3D Render

ถัดมาก็คือคำว่า Dedicated Server ซึ่งเป็นเครื่องของเราจริงๆ ไม่ใช้งานร่วมกับใครเลย เหมือนเราซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้เองคนเดียว นั่นทำให้ประสิทธิภาพสูงและปรับแต่งได้ยืนหยุ่นมาก และราคาก็สูงมากเช่นกัน

สุดท้ายคือสิ่งที่นิยมกันในยุคนี้คือ Cloud Server ซึ่งที่จริงแล้วมันก็เป็น VPS รูปแบบหนึ่งที่เราสามารถเลือกสเปคได้ ปรับแต่งต่างๆ ได้ยืดหยุ่น แต่มีจุดเด่นตรงที่การทำ Scalable หรือเพิ่มลดสเปคได้ง่ายกว่า ระหว่างที่เราเริ่มรันโปรเจ็คไปแล้วเกิดอยากปรับสเปคเพิ่มก็ทำได้สะดวก

หากเปรียบเทียบอย่างง่าย Shared Hosting ก็คล้ายๆ เราเช่าห้องพักราคาประหยัด ซึ่งเจ้าของตึกก็ต้องมีกติกาเพื่อควบคุมความเรียบร้อยจึงทำให้มีข้อจำกัด ส่วน Cloud/VPS คล้ายกับการที่เรามีตึกแถวซึ่งมีอิสระมากกว่า แต่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎของชุมชน แต่ถ้าอยากจัดการเองทั้งหมดก็ต้องเป็น Dedicated Server

Shared Host ที่เหมาะกับการเริ่มต้น

รูปแบบนี้มีราคาถูกที่สุดเหมาะกับการเริ่มต้น มีราคาตั้งแต่หลักร้อยต่อปี ลักษณะนี้เป็นการเช่าเซิร์ฟเวอร์แบบแชร์ทรัพยากรกับลูกค้าคนอื่น เหมือนเรามีคอมพิวเตอร์แล้วแบ่งกันใช้หลายๆ คน ถ้าใครสักคนติดไวรัสหรือโหลดอะไรหนักๆ ก็อาจทำให้เว็บเราโดนผลกระทบไปด้วย

ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ที่ว่าผู้ให้บริการแต่ละเจ้าจะป้องกันและแก้ไขยังไง บางเจ้าก็ใช้วิธีตีกรอบเช่นปิด Engine, Service บางตัว หรือจำกัดการใช้งานเลยว่าถ้ามีการโหลดมากผิดปรกติก็จะทำการปิดเว็บชั่วคราว ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้จึงเหมาะสำหรับทำเว็บในระดับเริ่มต้น ไม่เหมาะกับการทำเว็บเพื่อใช้งานแบบจริงจังที่รองรับจำนวนคนเยอะๆ หรือมีการปรับแต่งเว็บที่กินทรัพยากร

นอกจากนี้อีกประเด็นหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาด้วยก็คือ ตัวควบคุมหลังบ้านซึ่งจะมีอยู่ไม่กี่ตัวที่นิยมใช้กัน ตามความเห็นผมแล้ว Direct Admin มี UI ที่ค่อนข้างเก่า ส่วน Plesk ค่อนข้างสวยและใช้ง่าย แต่ในแง่ของฟีเจอร์แล้วก็อยู่ที่ว่าทางผู้ให้บริการจะตั้งค่าไว้แบบไหน

HostAtom

ข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้ WordPress ในไทยหลายคนแนะนำ HostAtom โดยให้ข้อมูลว่าเซิร์ฟเวอร์ทำงานได้ราบรื่นและมีบริการหลังการขายที่ดี

CloudRambo

ส่วนอีกเจ้าที่แนะนำก็คือ cloudrambo เจ้านี้จ่ายเป็นรายเดือน เริ่มต้นที่ 150 บาทต่อเดือน ด้านประสิทธิภาพและความเสถียรโดยรวมถือว่าดีมากสำหรับ Shared Hosting ดีพอสำหรับการทำธุรกิจเล็กๆ ได้สบาย มีการปรับจูนด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ทั้งเรื่องของ Cache, ClareFlare+Railgun แต่ข้อเสียคือไม่สามารถตั้ง forward email จากตัวเซิร์ฟเวอร์ได้ เพราะเค้าป้องกันปัญหาด้าน Spam

Cloud Server เหมาะกับการทำเว็บแบบมืออาชีพ

อันที่จริงจะบอกว่ารูปแบบนี้พัฒนาต่อยอดมาจาก VPS ก็ไม่ผิดนัก โดย Cloud Server มีข้อดีคือเราสามารถเลือกสเปคเครื่องได้ตามต้องการ จะใช้ CPU, RAM, Storage เท่าไรก็เลือกได้ตามเหมาะสม แต่ข้อควรรู้ก็คือ Cloud Server เหมือนเรามีเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวที่จะเอาไปทำอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ทำเว็บ ดังนั้นเค้าจะไม่ติดตั้งอะไรมาให้เลย โดยทั่วไปแล้วเราจะต้องติดตั้งระบบเองทุกอย่างและมักจะเป็น Linux ซึ่งไม่เหมาะกับคนทั่วไป

ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้วถ้าไม่ใช่บริษัทใหญ่มีฝ่าย IT จริงจังหรือเป็น Enterprise เรามักจะใช้ระบบตัวกลางเพื่อติดตั้งระบบและช่วยให้เราจัดการสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้นแบบไม่ต้องไปพิมพ์คำสั่ง Command เอง ซึ่งตัวที่นิยมสำหรับทำ WordPress ก็มีอยู่หลายตัวครับ

CloudWays

ผู้ให้บริการที่ผมเคยลองใช้แล้วชอบก็คือ CloudWays ซึ่งทำหน้าที่เป็น Control Panel ตัวกลางให้เราควบคุมระบบได้ง่าย โดย Cloud ที่อยู่เบื้องหลังจริงๆ คือ DigitalOcean, linode, VULTR, Amazon Web Services, Google Cloud

เพราะทั้ง 4 เจ้าที่ว่าเป็น Cloud ที่มีประสิทธิภาพ แต่ไม่มีการติดตั้งระบบมาให้สำหรับการทำเว็บ ตัว CloudWays เลยทำหน้าที่เป็นส่วนบริหารจัดการให้อีกที ทำให้มีประสิทธิภาพจาก Cloud ระดับโลก พร้อมกับการบริหารจัดการที่ง่าย มาพร้อมกับ SSL สำหรับทำ https และ CDN ในตัว ที่ช่วยให้เข้าใช้จากแต่ละประเทศได้เร็วขึ้นกว่าเดิม มีการตั้งค่าระบบ Caching เบื้องต้นมาให้ พร้อมกับ Bot Protection ที่เป็นหน้าด่านป้องกันการโดนยิง และยังมี Elasticsearch กับ Redis ให้เลือกใช้ในกรณีที่จะปรับรีดประสิทธิภาพเว็บ

ส่วนตัวแล้วผมแนะนำให้เลือกใช้บริการเบื้องหลังจาก DigitalOcean เพราะราคาค่อนข้างถูก แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพที่สูงขึ้นในราคาที่รับได้ก็แนะนำ VULTR แบบ High Frequency

ถ้าต้องการแบบครบพร้อมใช้แบบแทบจะไม่ต้องไป Config อะไรเพิ่ม ผมมองว่า CloudWays ง่ายที่สุดแล้วครับ แม้ราคาจะดูเหมือนแพง แต่ถ้าไปบวกลบคูณหารกับสิ่งต่างๆ ที่เค้าให้มาแล้วถือว่าไม่แพงครับ

runcloud.io

อีกเจ้าที่ผมแนะนำก็คือ runcloud.io โดยตัวนี้มีความคล้าย CloudWays ตรงที่เป็นตัวกลางที่ทำให้เราสร้างเว็บบน DigitalOcean, linode, VULTR, Amazon Web Services, Google Cloud หรือ Cloud Server อื่นๆ ได้ง่าย

จุดต่างที่สำคัญคือ runcloud.io จะคิดค่าบริการเฉพาะส่วนของค่าบริหารจัดการ แต่ไม่ชาร์จราคาค่า Cloud Server ซึ่งเราจะต้องไปจ่ายเงินเช่าพื้นที่โดยตรงจากแต่ละราย ไม่ได้จ่ายผ่าน runcloud.io หมายความว่าจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่า CloudWays

ซึ่งการคิดเงินเฉพาะค่าบริการในส่วนของ Control Panel ไม่ได้ไปชาร์จจากค่า Cloud Server ทำให้ runcloud.io จะมีราคาถูกกว่าถ้าทำหลายเซิร์ฟเวอร์ แต่ถ้าไม่ได้ทำอะไรมากมายขนาดนั้น การเลือกใช้ CloudWays อาจจะถูกกว่า เพราะถ้าเป็น runcloud.io เราต้องไปจ่ายค่า Backup แยกต่างหากไม่ได้รวมมาในราคา

และจุดสำคัญที่ทำให้ runcloud.io ยังไม่โดนใจผมก็คือเค้าไม่ได้ฝังระบบส่งอีเมลมาในระดับเซิร์ฟเวอร์ หมายความว่าถ้าเราจะให้ WordPress ส่งเมลได้ก็ต้องไปติดตั้ง Plugin เพิ่มแล้วตั้งค่าเว็บต่อเว็บ

ดังนั้นในภาพรวมแล้วแนะนำให้ใช้ CloudWays ครับ แต่ถ้ามีทักษะความรู้ด้านการจัดการเซิร์ฟเวอร์พอตัว จะเลือกใช้ runcloud.io ก็ดีเพราะราคาถูกกว่า

GridPane

ถ้าลองหาข้อมูลเมืองนอกเยอะๆ จะพบว่าคนจำนวนไม่น้อยเชียร์ให้ใช้ GridPand เพราะประสิทธิภาพสูงและเครื่องมือในการจัดการเหมาะกับคนดูแลระบบหลังบ้าน รวมถึงเหมาะกับ Agency ที่ดูแลเว็บลูกค้าเยอะๆ แต่นั่นก็ทำให้ราคาสูงตามไปด้วย

GridPane เป็นบริการลักษณะเดียวกับ runcloud.io ที่เป็นส่วนควบคุมเท่านั้น เพียงแต่ระบบต่างๆ ทำออกมาได้ดีมาก เรียกได้ว่าตั้งแต่เคยลองเล่นแต่ละรายมา ผมคิดว่า GridPane ดีที่สุดแล้วครับ

แม้ราคาจะแพงกว่าชาวบ้านแต่ถ้าลองเล่นฟีเจอร์ต่างๆ จะพบว่ามันครบถ้วนแล้ว ทำให้เราไม่ต้องไปซื้อ Plugin หรือ Service ต่างๆ เพิ่ม และยังสามารถสร้าง User สำหรับทีมงานและลูกค้าได้ด้วย เรียกได้ว่าถ้าจะรับทำเว็บเป็นอาชีพควรเลือกของที่นี่ครับ

Ploi.io

Ploi.io นับว่าเป็นเจ้าใหม่ที่ยังไม่แพร่หลายมากนัก และนับว่าเป็นอีกคู่แข่งของ runcloud.io ข้อดีคือราคาถูกและมีราคาแบบ Lifetime Deal จ่ายทีเดียวใช้ยันตาย หน้าตา UI/UX ต่างๆ มีความเอื้อต่อนักพัฒนา แต่ก็ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปรู้สึกว่ามันยาก

WordPress Server

เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้คือเกิดมาเพื่อ WordPress โดยเฉพาะ ไม่ต้องวุ่นวายกับระบบหลังบ้านเพราะเปิดมาก็เป็น WordPress เลย แม้ว่าจะปรับแต่งได้ไม่มากเท่ารูปแบบอื่นๆ แต่ข้อดีคือเริ่มต้นง่ายใครก็ใช้ได้

ตัวที่ผมเคยใช้แล้วชอบคือ WordPress.com เริ่มต้นใช้งานได้ฟรี แต่ถ้าต้องการฟีเจอร์เพิ่มหรือติดตั้ง Plugin และ Theme เองก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จุดเด่นคือใช้ง่ายและค่อนข้างเสถียร มีทีมงานดูแลตลอดเวลา ดีพอจะใช้ทำธุรกิจและทำเว็บ ecommerce แต่ข้อเสียคือปรับแต่งได้น้อยมาก

และเมื่อปลายปี 2019 ทาง WordPress.com ได้เพิ่มฟีเจอร์ให้เราสามารถเข้าถึงไฟล์ของระบบได้ง่ายขึ้น รองรับ FTP และการเข้าถึง Database ด้วย นับว่าเป็นอีกรูปแบบที่คุ้มค่าและใช้งานง่าย

สรุปแล้วควรเลือกเซิร์ฟเวอร์ไหนดี?

ถ้าเอาแบบสั้นๆ เลย ผมมองว่า Shared Hosting มันเหมาะกับการเริ่มต้นมากๆ อารมณ์เหมือนโบร์ชัวร์ที่แค่มีไว้เฉยๆ ไม่ได้ซีเรียสมาก ไม่เหมาะกับการใช้เว็บหาเงินจริงจัง ถ้าไม่ใช่นักศึกษาที่โดนโปรเจ็คมาให้ทำเว็บส่งหรืออะไรทำนองนั้น แนะนำให้ใช้ในกลุ่มของ Cloud ดีกว่าครับ

ถ้าไม่มีความรู้เรื่องระบบหลังบ้านเลยก็เลือกใช้ของ WordPress.com ก็ได้ หรือของ Bangmod Cloud ก็โอเค แต่ถ้าอยากขยับขึ้นมาอีกผมแนะนำเป็น CloudWays แล้วก็ข้ามไปเป็น Gridpane หรือ runcloud.io เลยครับ